New Year Party Cake

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562

วิชาวิทยาศาสตร์

ความรู้วิชาวิทยาศาสตร์


บรรยากาศ
บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน,ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจนฮีเลี้ยม และแก๊สอื่น ๆ เป็นหลัก

อากาศ
อากาศ คือ สสราที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชิวิตสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก เป็นสิ่งมีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ มีตัวตน และสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5

วิชา คริสต์ศาสนา

ความรู้วิชาคริสต์ศาสนา



บัญญัติ 10 ประการ
1.อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา คือ พระยาห์เวห์
2.อย่าทำรูปเคารพและอย่าเคารพรูปเคารพ
3.ห้ามใช้พระนามของพระยาห์เวห์ไปใช้ในทางที่ผิด
4.จงถือวันสะบาโตเป็นวันบริสุทธิ์
5.จงให้เกียรติบิดามารดาของเจ้า
6.ห้ามฆ่าคน
7.ห้ามล่วงประเวณีสามีภรรยาของเขา
8.ห้ามลักขโมย
9.ห้ามเป็นพยานเท็จและห้ามใส่ร้ายเพื่อนบ้าน
10.ห้ามโลภในของของผู้อื่น

==============================================================

ความหมายของพระบัญญัติ 10ประการ
1.ห้ามมีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา บัญญัติข้อนี้ห้ามการนับถือพระหลายองค์อันเป็นลักษณะเด่นของศาสนาทั้งหลายในโลกตะวันออกใกล้สมัยโบราณ อิสราเอลต้องไม่นมัสการหรือออกนามพระต่าง ๆ ของชนชาติอื่น แต่พระเจ้าทรงบัญชาให้พวกเขายำเกรงและปรนนิบัติพระองค์เท่านั้น

2.ห้ามทำรูปเคารพสำหรับ บัญญัติข้อนี้ห้ามการนมัสการการพระอื่นๆ นั้นเรียกไม่ไห้มีการสร้างรูปพระะเหล่านั้น หรือแม้กระทั่งการสร้างรูปขององค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่เกินกว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจะมาเป็นตัวแทนได้ เมื่อประยุกต์ใช้กับผู้เชื่อในพระคริสต์บัญญัติข้อที่สองสั่งห้ามการสร้างรูปของพระเจ้าหรือสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างทุกชนิดเพื่อใช้สำหรับการนมัสการ การอธิฐาน หรือเครื่องช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณใด ๆหลักการของบัญญัตินี้ใช้ได้เท่าเทียมกันกับบุคลทั้งสามในตรีเอกภาพ

3.ห้ามใช้พระนามพระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้าไปในทางที่ผิด บัญญัติข้อนี้ห้ามการยกพระนามของพระเจ้ามาอ้างอย่างไม่สมควรรวมถึงการให้สัญญาจอมปลอมในพระนามของพระเจ้า การออกพระนามด้วยความไม่จริงใจหรือไม่ใส่ใจ หรือแช่งสาปและหมิ่นประมาทพระนามของพระเจ้าจะต้องได้รับการสักการะ ยกย่อง และเคารพบูชาไว้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และถูกกล่าวถึงด้วยท่าทีที่บริสุทธิ์

4.จงระลึกถึงวันสะบาโต ถือ​เป็น​วัน‍บริ‌สุทธิ์ บัญญัติข้อนี้วันสะบาโตในพันธสัญญาเดิมเป็นวันที่เจ็ดของสัปดาห์ การรักษาวันสะบาโตให้บริสุทธิ์หมายถึงการแยกวันนั้นออกจากวันอื่น ๆ โดยการหยุดจากการงานเพื่อพักผ่อน ปรนนิบัติพระเจ้าและจดจ่ออยู่กับสิ่งซึ่งเป็นนิรันดร์ ชีวิตฝ่ายวิญญาณ และพระเกียรติของพระเจ้า

5.จงให้เกียรติบิดามารดาของเจ้า การนับถือให้เกียรติพ่อแม่ของคุณเป็นการเคารพทั้งในคำพูดและการกระทำ และการมีท่าทีภายในที่เคารพยำเกรงสถานภาพของพวกเขา ภาษากรีกคำว่าให้เกียรติหมายถึง "เคารพยกย่อง ให้รางวัลและยกย่องคุณค่า" เกียรติคือการให้ความเคารพนับถือไม่เพียงแต่คุณงามความดี แต่เคารพตำแหน่งฐานะด้วย ตัวอย่างเช่นชาวอเมริกันบางคนอาจไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี แต่พวกเขายังคงเคารพเขาในฐานะผู้นำของประเทศของตน

6.ห้ามฆ่าคน บัญญัติข้อนี้เป็นข้อที่หกที่ห้ามการฆาตกรรมมนุษย์โดยเจตนา นั่นคือ การทำลายชีวิตโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นอย่างผิดกฎหมายพระเจ้าทรงกำหนดโทษถึงตายสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนบัญญัติข้อนี้พันธสัญญาใหม่ไม่เพียงประณามการฆาตกรรมเท่านั้น แต่รวมถึงความเกลียดชังซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้คนหนึ่งปรารถนาจะให้อีกคนหนึ่งตายด้วยและการกระทำหรืออิทธิพลใดที่ไม่พอพระทัยพระเจ้าที่เป็นเหตุให้อีกคนหนึ่งต้องตายฝ่ายวิญญาณ

7.ห้าม​ล่วง‍ประ‌เวณี​ผัว‍เมีย​เขา บัญญัติข้อนี้เป็นข้อที่เจ็ดที่ห้ามการล่วงประเวณีซึ่งครอบคลุมถึงการผิดประพฤตผิดศีลธรรมและบาปทางเพศทุกอย่างการล่วงประเวณี (นั่นคือ ความไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่ชีวิต) เป็นสิ่งที่น่ารังเกลียดในสายพระเนตรของพระเจ้ามากจนกระทั่งพระคัมภีร์ปราณามการประพฤติเช่นนี้ทั่วไปหมด พระคัมภีร์ได้สอนเรื่องการล่วงประเวณีไว้ดังต่อไปนี้

8.ห้ามลักขโมย บัญญัติข้อนี้ห้ามการขโมยเงินทองหรือสิ่งของผู้อื่น การโกงก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการลักขโมยบัญญัติข้อที่แปดนี้เรียกร้องให้มีความซื่อสัตย์ในทุกเรื่องที่เราต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่น

9.ห้ามเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน บัญญัติข้อนี้เป็นข้อที่เก้าที่ปกป้องชื่อเสียงของผู้อื่น อย่าให้ใครกล่าวความเท็จเกี่ยวกับอุปนิสัยหรือการกระทำของใครก็ตาม เราต้องกล่าวถึงทุกคนด้วยความยุติธรรมและเที่ยงธรรมบัญญัติข้อนี้รวมถึงการพูดโกหกโดยทั่วไปด้วย

10.ห้าม​โลภ บัญญัติข้อนี้เป็นข้อที่สิบ

วิชาภาษาไทย

เรื่องสมิงพระราม
นำเรื่อง
   ราชาธิราช เป็นเรื่องในพงศาวดารมอญ เคยแปลเป็นไทยแต่สูญหายครั้งเสียกรุงครั้งที่ ๒ ต่อมารัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหัวหน้า ร่วมกับพระยาอินทรอัคคะราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา ช่วยกันแปลและเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการบำรุงสติปัญญาแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร


เรื่องย่อ
   มะกะโทเป็นบุตรพ่อค้าแขวงเมาะตะมะ วันหนึ่งขณะหาบสินค้าไปขายที่เมืองสุโขทัยเกิดนิมิตประหลาด ฟ้าผ่าคานหามถึง ๓ ครั้ง แต่ไม่มีใครเป็นอันตราย ต่อมานิมิตเห็นปราสาทราชมนเทียร มีผู้ทำนายว่ามะกะโทจะได้เป็นใหญ่ เมื่อถึงสุโขทัยมะกะโทไปอาศัยอยู่กับนายช้างของสมเด็จพระร่วงเจ้า เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าเสด็จไปโรงช้างพบมะกะโท ก็ทรงพระเมตตารับสั่งนายช้างให้ดูแลมะกะโทให้ดี และขณะทอดพระเนตรช้างสมเด็จพระร่วงเจ้าได้คายพระสลา (หมาก) แล้วบ้วนพระโอษฐ์ลงดิน เห็นเบี้ยตกอยู่ จึงให้มะกะโทเก็บไว้ มะกะโทนำเบี้ยไปซื้อผักกาดมาปลูกถวายสมเด็จพระร่วงเจ้า สมเด็จพระร่วงเจ้าจึงทรงพระเมตตา และแต่งตั้งให้เป็นขุนวังในเวลาต่อมา
   ต่อมามะกะโทเดินทางกลับไปเมาะตะมะ อลิมามางผู้เป็นเจ้าเมืองคิดฆ่ามะกะโทด้วยเห็นว่ามะกะโทมีผู้เลื่อมใสมาก แต่สุดท้ายก็ถูกฆ่าตาย มะกะโทจึงได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ มีพระนามว่าพระเจ้าฟ้ารั่ว และบุกยึดเมืองทางเหนือทำให้เมาะตะมะยิ่งใหญ่
   กษัตริย์เมาะตะมะสืบราชสมบัติกันต่อมาเรื่อย ๆ และได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นกรุงหงสาวดี จนกระทั่งพระยาน้อยปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าราชาธิราช มีทหารเอกได้แก่ สมิงนครอินท์ สมิงพระราม และสมิงพ่อเดช ขณะเดียวกันที่เมืองพม่า พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องก็ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา และทำศึกสงครามกับพระเจ้าราชาธิราชมาเป็นเวลานาน แต่พระเจ้าราชาธิราชก็ทรงเอาชนะได้โดยตลอด ยกเว้นครั้งหนึ่งสมิงพระรามขี่ช้างพลายประกายมาศเข้าสู้กับพม่า แต่ช้างตกหล่ม ทำให้ถูกพม่าจับไปเป็นเชลย
   ครั้งหนึ่งพระเจ้ากรุงต้าฉิง แห่งกรุงจีน ได้ส่งกามะนีทหารเอกมาทำสงครามกับเมืองพม่า สมิงพระรามผู้เป็นเชลยขออาสาสู้ศึก และเอาชนะกามะนีได้ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพระราชทานตำแหน่งมหาอุปราชและให้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดา แต่ภายหลังพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพลั้งพระโอษฐ์เรียกโอรสของสมิงพระรามว่า “อ้ายลูกเชลย” สมิงพระรามเกิดความน้อยใจจึงหนีกลับกรุงหงสาวดี
   หลังจากพระเจ้าราชาธิราชสวรรคต ก็ได้มีสืบสันตติวงศ์มาจนถึงตะละนางพระยาท้าว ซึ่งถูกพระเจ้าแมงเรฉะวากีกษัตริย์พม่าชิงตัวไปเป็นอัครมเหสีเอก แต่ต่อมาราชบุตรบุญธรรมของตะละนางพระยาท้าวได้ยกทัพมาชิงตัวกลับไป และขึ้นครองราชสมบัติ มีพระนามว่าพระเจ้าศรีศากยวงศ์ธรรมเจดีย์

วิชาภาษาจีน

เรื่องเสื้อผ้า - 服装
滑雪衫 
huáxuě shān
เสื้อแจ๊คเก็ตมีฮู้ด
背包 
bèibāo
เป้สะพายหลัง
浴袍 
yù páo
เสื้อคลุมอบน้ำ
外套 
wàitào
เสื้อสวมทับ
女衬衫 
nǚ chènshān
เสื้อเชิ้ตสตรี
เรื่องตัวเลข

ตัวเลขจีนพินอินคำอ่านตัวเลข
língหลิง0ศูนย์
一 อี1หนึ่ง
二 èrเอ้อ2สอง
三 sānซาน3สาม
ซื่อ4สี่
อู่5ห้า
liùลิ่ว6หก
ชี7เจ็ด
ปา8แปด
jiǔจิ่ว9เก้า
shíสือ10สิบ




วิชาสังคมศึกษา

เรื่องสิทธิและเสรีภาพ

คำว่าสิทธิเสรีภาพเป็นคำที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี หากมองในภาพรวมคำสองคำนี้ก็เปรียบได้กับความมีสิทธิ์มีเสียงของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ตามกฎระเบียบที่ได้มีการวางแผนเอาไว้อย่างชัดเจน สามารถทำในสิ่งต่างๆ ที่ตนเองต้องการได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นๆ แต่จริงๆ แล้วความหมายของคำๆ นี้สามารถแตกแขนงออกไปได้อีกมากมายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันโดยคำว่าสิทธิเสรีภาพสามารถสร้างความหมายที่ทำให้เข้าใจได้มากขึ้นอีกหลายประการ

ความหมายของสิทธิ

จริงๆ แล้วได้มีคนให้ความหมายของสิทธิเอาไว้มากมายแต่เมื่อมีการสรุปโดยภาพรวมแล้ว สิทธิ คือ อำนาจทางกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองกับบุคคลซึ่งก่อให้เกิดหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมาย มีการรับรอง คุ้มครอง และต้องไม่เป็นการรบกวนสิทธิหรือหน้าที่อันสมควรเป็นไปตามสิทธิที่ตนเองพึงได้รับ เป็นความชอบธรรมที่บุคคลสามารถใช้กับผู้อื่นเพื่อคุ้มครองและรักษาประโยชน์อันสมควรได้

ความหมายของเสรีภาพ

การที่บุคคลสามารถมีอิสระในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถที่จะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้ ให้เป็นไปตามความต้องการของตนเอง มีอำนาจในการกำหนดสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นด้วยเช่นเดียวกัน

ความแตกต่างระหว่างสิทธิกับเสรีภาพ

จริงแล้วความแตกต่างของสองคำนี้สามารถสรุปได้ง่ายๆ คือ สิทธิเป็นอำนาจที่บุคคลพึงมีเพื่อเรียกร้องให้คนอื่นกระทำหรือละเว้นการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิทธิจึงเป็นเหมือนอำนาจอันถูกต้องที่ใช้ระหว่างตนเองกับผู้อื่น ปราศจากการครอบงำหรือแทรกแซงใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนเสรีภาพนั้นจริงๆ แล้วจะไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ต่อบุคคลอื่น อาทิ เสรีภาพต่อการนับถือศาสนา ซึ่งทุกคนมีเสรีภาพมากพอในการเลือกนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่นับถือศาสนาก็ได้ ซึ่งเราจะเห็นว่าเสรีภาพในกรณีดังกล่าวนี้ไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ต่อบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าหากเป็นสิทธิในเสรีภาพย่อมมีความหมายว่า บุคคลนั้นมีสิทธิในการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่มีการรับรองในความหมายดังกล่าว ก่อให้เกิดความผูกพันกับบุคคลอื่น กล่าวโดยสรุปคือ บุคคลมีหน้าที่ต้องไม่ละเมิดการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของบุคคลอื่นๆ
อย่างที่กล่าวไปว่า สิทธิเสรีภาพ เป็นคำที่เราส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีด้วยความที่ประเทศไทยของเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เหนือสิ่งอื่นใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพสิ่งสำคัญก็คือทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบและรัฐธรรมนูญที่ได้ร่างเอาไว้ ที่สำคัญต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่อย่างนั้นการใช้สิทธิเสรีภาพแบบนี้ย่อมไม่ส่งผลดีอย่างแน่นอน เป็นการเลือกใช้ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในสถานการณ์ต่างๆ
fundamental-freedom-pic

วิชาศิลปะ


การวาดเส้นในงานออกแบบทัศนียภาพ
หลักการของภาพทัศนียภาพ เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเป็น 3 มิติ คือ มีลักษณะของความเหมือนใกล้เคียงกับภาพที่คนเราเห็นภาพต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ถ้าไปยืนอยู่กลางถนน แล้วมองไปไกลข้างหน้า เราจะเห็นถนนจะค่อยเล็กลง เสาไฟฟ้าก็สั้นเล็กลง ถ้ามีต้นไม้เป็นทิวข้างทางก็จะ เตี้ยลง แล้วก็จะวิ่งไปรวมกันที่จุดสุดสายตา หรือถ้าใครอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟก็จะเห็นได้ชัดเจน รางรถไฟจะไปรวมกันที่จุดจุดเดียว ไม้หมอนที่นอนขวางรับรางเหล็กก็จะสั้นเข้า และรวมกันที่ จุดรวมสายตา ซึ่งพอจะสรุปลักษณะของภาพ PERSPECTIVE ได้ดังนี้
     1. วัตถุ หรือสิ่งของที่มีขนาดเท่ากันเมื่อยู่ไกลตัวออกไปจะมีขนาดเล็กลง
     2. ระยะที่เท่ากันเมื่ออยู่ไกลตัวออกไปจะมีระยะที่ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนรวมเป็นจุดเดียวกัน
     3. เส้น หรือสิ่งของที่คู่ขนานกันเมื่อไกลออกไปจะพุ่งเข้าหากัน
     4. วัตถุ หรือสิ่งของต่าง ๆ เมื่ออยู่ไกลตัวออกไป จะมีรายละเอียดและความชัดเจนลดลงไปตามลำดับ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลักการวาดภาพทัศนียภาพผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลักการวาดภาพทัศนียภาพ

วิชาเเนะเเนว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แนะแนว
จิตวิทยาการแนะแนว
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้

ประเภทของการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)

บริการแนะแนว
1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
2. บริการสนเทศ (Information Service)
3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว
4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5. บริการติดตามผล
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วิชาดนตรี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดนตรีไทย
ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
     ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล
สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ ๑ เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก ๑ ลูก รวมเป็น ๒ ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่๒ ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่๓ พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่
            รัชกาลที่๔ เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ ๖ นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ท่านต่างๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นาฏศิลป์

ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่าหยาบนุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเมือง(ฟ้อนเล็บ ฟ้อนก๋ายลาย)ฟ้อนเทียน ฟ้อนจ้อง ฟ้อนวี ฟ้อนขันดอก ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนน้อยไจยา ฟ้อนหริภุญชัย ฟ้อนล่องน่าน ฟ้อนแง้น เป็นต้น นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น
ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนกำเบ้อ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก (กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว ระบำซอ ระบำเก็บใบชา ชาวไทยภูเขา) ฟ้อนไต ฟ้อนไตอ่างขาง ฟ้อนนกยูง เป็นต้น

วิชาวิทยาศาสตร์

ความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ บรรยากาศ บรรยากาศ   หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้า นั้น ๆ   ซึ่...