New Year Party Cake

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิชาการงานอาชิพ

การทำตุ๊กตาการบูร
ของที่เตียม
1.ถุงเท้าขนาดเล็ก หรือถุงเท้าเด็ก 
2.การบูร
3.ใยสังเคราะห์
4.เชือกผ้าเส้นใหญ่ เส้นเล็ก
5.เข็ม ด้าย หนังยาง กาวลาเท็กซ์
6.ตาตุ๊กตา กิ๊บติดผม

วิธีทำ
1.ตัดถุงเท้าตรงส่วนส้นเท้าออก (ตามรูป) จะได้ถุงเท้าเป็น 2 ส่วน (พยายามให้รอยตัดเป็นเส้นตั้งฉาก)
2.นำก้อนการบูรหุ้มด้วยใยสังเคราะห์ แล้วใส่เข้าไปในถุงเท้าส่วนที่ 1 จัดรูปทรงให้เป็นก้อนกลม แล้วใช้หนังยางรัด และนำส่วนที่ 2 มาพับส่วนปลายเข้าด้านในสวมรอบในส่วนที่ 1 (ส่วนที่ 2 มียางยืดของถุงเท้าอยู่ทำให้ครอบแล้วแน่นหนาไม่เลื่อนหลุด)
3.นำเชือกผ้าขนาดยวพอประมาณ มามัดปมทั้งสองข้าง แล้วมัดเชือกที่คอตุ๊กตาปิดหนังยางให้มิด (ตามรูป) และนำอีกเส้นมัดปม 2 ข้าง มาทำเป็นขาตุ๊กตาเย็บด้ายติดกับตัวเสื้อตุ๊กตา
4.ตกแต่งหน้าตุ๊กตา โดยใช้กาวลาเท็กซ์ติดลูกตา นำกิ๊บมาติดที่หมวก ส่วนปากใช้เชือกผ้าเส้นเล็กหรือใหมพรมชุบกาวติดลงไป
5.ทำเชือกแขวนเย็บติดที่หัวตุ๊กตา (อย่าทำที่หมวกเพราะอาจหลุดจากตัวตุ๊กตาเวลาแขวน)


รูปตุ๊กตตาการบูรในแบบต่างๆ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การทําตุ๊กตาการบูร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การทําตุ๊กตาการบูร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การทําตุ๊กตาการบูร

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิชาคณิตศาสตร์

การบวกลบพหุนาม

พิจารณาสองพหุนามต่อไปนี้
    3x-6 และ 2x+9
    เขียนพหุนามทั้งสองนี้ในรูปการบวกดังนี้
    (3x-6)+(2x+9)
เมื่อทำพหุนาม (3x-6)+(2x+9) ให้เป็นพหุนามในรูปผลสำเร็จ จะได้ดังนี้
    (3x-6)+(2x+9) = 3x-6+2x+9
                            = (3x+2x)+(-6+9)
                            = 5x+3
เรียกพหุนาม ว่าผลบวกของพหุนาม 3x-6 และ 2x+9
        นั่นคือ(3x-6)+(2x+9) = 5x+3
การหาผลบวกของพหุนามใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

การหาผลบวกของพหุนามทำได้โดยนำพหุนามมาเขียนในรูปการบวกและถ้า มีพจน์ที่คล้ายกัน ให้บวกพจน์ท่คล้ายกันเข้าด้วยกัน

ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวกของพหุนามในแต่ละข้อต่อไปนี้
1.) -4x+7 และ x-5
            (-4x+7) + (x-5) = -4x+7+x-5
                                     = (-4x+x)+(7-5)
                                     = -3x+2
การลบพหุนาม
 
        
การลบพหุนามทำได้ในทำนองเดียวกันกับการลบเอกนามโดยเขียนพหุนามในรูปการลบให้อยู่ในรูปการบวกพหุนาม ซึ่งต้องใช้พหุนามตรงข้าม
        พิจารณาพหุนาม x-4
        เราจะหาพหุนามที่นำมาบวกกับพหุนาม x-4 แล้วได้พหุนาม 0
        เนี่ยงจาก (x-4)+(-x+4) = x-4-x+4
                                              = 0

        ดังนั้นพหุนาม -x+4 เป็นพหุนามที่นำมาบวกกับพหุนาม x-4 แล้วได้พหุนาม 0 เรียกพหุนาม -x+4 ว่า พหุนามตรงข้ามของพหุนาม x-4
เขียนแทนพหุนามตรงข้ามของพหุนาม x-4 ด้วย -(x-4) นั่นคือ -(x-4) = -x+4
และเมื่อพิจารณาแต่ละพจน์ของพหุนาม -x+4 กับ x-4 จะเห็นว่า
-x+x = 0 เรียกว่า -x ว่าพจน์ตรงข้ามของ x
และ 4+(-4) = 0 เรียก 4 ว่าพจน์ตรงข้ามของ -4
จึงกล่าวได้ว่า พหุนามตรงข้ามของ x-4 คือ ผลบวกของพจน์ตรงข้ามของแต่ละพจน์ของ x-4
     
        โดยทั่วไป เราสามารถแสดงได้ว่า พหุนามตรงข้ามของพหุนามใดเท่ากับผลบวกของพจน์ตรงข้ามของแต่ละพจน์ของพหุนามนั้น
การหาผลลบของพหุนามสองพหุนาม ทำตามข้อตกลงดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลลบของพหุนามในแต่ละข้อต่อไปนี้
1.) -4x+7 และ x-5
            (-4x+7) - (x-5) = (-4x+7)-(+x-5)
                                     = (-4x+x)+(-x+5)
                                     = -5x+6

วิชาวิทยาศาสตร์

ความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ บรรยากาศ บรรยากาศ   หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้า นั้น ๆ   ซึ่...